google-site-verification: google49d119a0868d58ef.html
top of page

โรคไข้เลือดออก

อัปเดตเมื่อ 25 เม.ย. 2563

ช่วงนี้มีการระบาดของ

ในจังหวัดทางภาคใต้ของประเทศไทย

ป้าหมอพบเด็กอายุ12ปี อาศัยอยู่แถวคลอง7ธัญบุรี ป่วยเป็นไข้เลือดออกในช่วงเวลานี้ด้วยเช่นกัน ฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ ควรระมัดระวังไว้นะคะ

โรคไข้เลือดออกเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี่ซึ่งมี 4 ซีโรทัยพ์ คีอ serotype 1 ,2 ,3 และ4 การติดเชื้อในserotype ใด ก็จะทำให้มีภูมิคุ้มกันต่อ serotypeนั้นตลอดไป และ สามารถป้องกันข้าม serotype ได้ชั่วคราว

ปัญหาอยู่ที่ว่าถ้าเป็นการติดเชื้อครั้งที่สอง มักจะมีความรุนแรงมากกว่าการติดเชื้อครั้งแรก

การติดเชื้อมียุงลายเป็นพาหะ

ผู้ติดเชื้อไวรัสเดงกี่ ส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการ บางคนมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อแล้วดีขึ้นเอง เรียกว่า Dengue Fever
ในกรณีรุนแรงมีการรั่วของพลาสมา ออกจากเส้นเลือด ทำให้มีความเข้มของเลือดเพิ่มขึ้น มีน้ำในช่องปอดหรือช่องท้อง เรียก Dengue hemorregic fever
บางรายเกล็ดเลือดต่ำมากจน มีเลือดออก ในอวัยวะภายใน โดยเฉพาะกระเพาะอาหาร บางรายมีอาการมากจนถึงขนาดช็อค เรียก Dengue shock syndrome หรือที่เลวร้ายสุดคือมีการล้มเหลวของ อวัยวะสำคัญเช่นไตวาย ตับวาย ภาวะหายใจล้มเหลว ภาวะสมองบวม นำไปสู่การเสียชีวิต

ผู้ติดเชื้อไวรัสเดงกี่มีการดำเนินโรคเป็น 3 ระยะคือ
1. ระยะไข้ ผู้ป่วยจะมีไข้สูงลอยนาน 3-7วัน (ทานยาลดไข้ ไข้ก็ไม่ค่อยลด) ปวดศีรษะ อาเจียน ปวดกล้ามเนื้อ (มักไม่ค่อยพบ อาการของไข้หวัดเช่น น้ำมูกไอ ทำให้แพทย์แยกโรคจาก ไข้หวัดใหญ่ได้) บางราย ปวดท้องบริเวณลิ้นปี่ หรือใต้ชายโครงขวา เพราะมีตับโต บางรายมีจุดเลือดออกที่ผิวหนัง(การรัดแขน Tourniquet Test) พบจุดเลือดออก จำนวนมาก บางรายมีเลือดออกในอวัยวะอื่นๆ
2.ระยะวิกฤติ ไข้มักลดลงอย่างรวดเร็ว มีการรั่วของพลาสมา และ อาจพบภาวะช็อค
3.ระยะพักฟื้น ผู้ป่วยเริ่มอยากอาหาร อาการทั่วไปดีขึ้น และอาจพบผื่นแดง ที่ลำตัว แขน ขา

ปัจจุบันเราสามารถทำการตรวจหาแอนติเจน (Dengue NS-1 Antigen) ได้โดยตรง จากการเจาะเลือด ซึ่งจะให้ผลบวก ตั้งแต่ระยะแรกของไข้ ทางคลินิกมีบริการตรวจทราบผลภายในเวลา 15 นาที

การรักษาไข้เลือดออก คือการรักษาตามอาการ ดังนั้น แพทย์จะทำการเจาะเลือด เพื่อดูการเปลี่ยนแปลง ของเม็ดเลือดขาว ความเข้มของเลือด จำนวนเกล็ดเลือด

การตรวจเลือดซ้ำหลายๆครั้ง ,การวัดความดันโลหิต บ่อยๆโดยเฉพาะในระยะวิกฤติ จึงมีความจำเป็นมาก เพื่อให้แพทย์ใช้วางแผนในการปรับเปลี่ยนน้ำเกลือ ที่ให้ผู้ป่วยอย่างเหมาะสม

แม้ว่าแพทย์สามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยไข้เลือดออกได้เกือบทุกราย แต่ผู้ป่วยบางรายมีอาการรุนแรงมาก ทำให้เสียชีวิตโดยเฉพาะผูป่วยที่อ้วนมาก ,มีโรคประจำตัว ,มาพบแพทย์ในระยะท้าย

วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก ปัจจุบันมีแล้ว โดยจะให้ในกลุ่ม อายุ 9-45 ปี ให้ 3 ครั้ง ห่างกัน 6 เดือน มีประสิทธิภาพปานกลางในการป้องกันโรค มีประสิทธิภาพสูงในการลดความรุนแรงของโรค และระยะเวลาในการนอน โรงพยาบาล
แต่ให้ใช้ในคน ที่เคยป่วยเป็นไข้เลือดออกมาแล้วเท่านั้น ถ้ายังไม่ทราบ แพทย์จะทำการเจาะเลือดว่ามีภูมิคุ้มกันมาก่อน จึงพิจารณาฉีดให้
คลินิกมีบริการวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกคะ



ดู 967 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page