google-site-verification: google49d119a0868d58ef.html
top of page
รูปภาพนักเขียนsiriwanpokrung

ท้องผูกในเด็ก💝

อัปเดตเมื่อ 25 เม.ย. 2563


💩ท้องผูกหมายถึง การที่เด็กถ่ายอุจจาระเป็นก้อนแข็ง เบ่งมาก ก้อนอุจจาระแข็งใหญ่จนบางครั้งบาดรูทวารเป็นแผลมีเลือดออก💩

เพราะฉะนั้นเราดูกันที่ลักษณะของอุจจาระเป็นหลัก การถ่ายอุจจาระของเด็กแตกต่างกันไปในแต่ละคน บางคนถ่ายทุกครั้งที่ทานอาหาร บางคน ไม่ถ่ายเลย 1 สัปดาห์ ก็ยังเคยเจอ ถ้าอุจจาระไม่แข็งมากๆก็ยังไม่เป็นไร

✅อาหารที่เด็กทานเข้าไปมีส่วนสำคัญที่ทำให้ลักษณะอุจจาระต่างกัน 🍼🍚🍗🍏🥝🥬 🎄เด็กอายุ แรกคลอด- 4 เดือนจะถ่ายอุจจาระ3-4ครั้งต่อวัน 🎄หลังอายุ 6 เดือน เริ่มอาหารเสริมแล้วจำนวนความถี่ของการถ่ายก็จะลดลง 🎄เริ่มอาหาร3มื้อ ก็จะถ่ายวันละ 1 ครั้งโดยประมาณ

👶🏼เด็กทารกที่ทานนมแม่ อย่างเดียว จะถ่ายอุจจาระ ได้ดีวันละหลายครั้ง บางทีถ่ายทุกมื้อที่ทานนม ลักษณะอุจจาระจะค่อนข้างนิ่ม มักไม่ค่อยพบปัญหาท้องผูก เด็กที่ทานนมแม่และนมผสม 🍼จะเจอปัญหาท้องผูกได้มากกว่า

😥สาเหตุของปัญหาท้องผูกในเด็ก😥

ส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากปัญหาทางลำไส้ มักเกิดจากปัญหาพฤติกรรม ,สิ่งแวดล้อม การทานอาหาร เลือกทาน ทานนมมากเกิน ทานอาหารที่มีกากใยน้อย

🚽การขับถ่าย ชอบอั้นเนื่องจากติดเล่น กลัวการถ่ายเนื่องจากเคยถ่ายแข็งมากจนรูทวารฉีกขาดเป็นแผลจึงกลัวเจ็บจนไม่กล้าเบ่ง เด็กบางคนไม่กล้าถ่ายที่โรงเรียนเพราะไม่ชอบห้องน้ำ เป็นต้น

📍ลักษณะที่บอกว่าเด็กเริ่มมีอาการท้องผูก📍

อุจจาระเริ่มเป็นก้อนแข็งเด็กร้องไห้มากก่อนถ่าย (แต่ อาการเบ่ง จนหน้าแดง พบได้ในเด็กปกติ นะคะ ) กลิ่นอุจจาระ,ผายลมเหม็นมาก ทานอาหารน้อยลง ,ท้องแข็งตึง

📕วิธีรักษา📕

👶🏼เด็กทารก

-ซักประวัติเรื่องทานนม ถ้าทานนมแม่อย่างเดียว มักไม่เจอปัญหา เนื่องจากกากใยอาหารน้อย จะรวมตัวกันมากระตุ้นการขับถ่ายน้อย บางทีอาจต้องรอดูไปก่อน

-ลองกระตุ้นการขับถ่ายโดยใช้ ไม้พันสำลี,ที่วัดอุณหภูมิทางทวารหนัก เขี่ยเบาๆบริเวณรูทวารจะกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ เด็กบางคนก็จะถ่ายออกมาได้

-ใช้ แท่งกลีเเซอรีน เหน็บรูทวารแล้วลองทิ้งไว้สักไม่เกิน 1 ชั่วโมงเด็กจะถ่ายออกมา

-ใช้ lactulose (Duphalac) เป็นน้ำตาลสังเคราะห์ไม่ดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย มันจะดึงนำ้จากร่างกายมายังลำไส้ใหญ่ทำให้อุจจาระนิ่ม ถ่ายง่ายขึ้น ยานี้ค่อนข้างปลอดภัยในเด็ก แต่อาจต้องรอประมาณ 2 วัน ยาจึงจะออกฤทธิ์

-ปัจจุบันมีจุลินทรีย์สุขภาพ ที่ออกมาในรูปยาน้ำ หยดให้ ลูกทาน ก่อนนอน ที่ป้าหมอลองใช้ดูก็ทำให้ขับถ่ายได้ดีขึ้น

นอกจากนี้เราควรดูรายละเอียดการทานนม

🍼ถ้าทานนมผสม 🍼 ซักประวัติการชงนม ชงด้วยช้อนที่ให้มา ไม่ตักนมแน่นเกิน ใช้มีด หรือ ด้ามปาด ใช้อัตราส่วนผสมที่ถูกต้อง (นมผสมแต่ละชนิดจะมีช้อนซึ่งขนาดไม่เท่ากัน และมีอัตราส่วนการชงต่างกัน) ใส่น้ำก่อน จึงเติมนนผสมเข้าไป (ถ้าใส่นมก่อน เราจะได้นมผสม ซึ่งมีน้ำน้อยลง อาจทำให้ท้องผูกได้)

👫เด็กอายุมากกว่า6เดือน

มักจะเจอเมื่อ เปลี่ยนนมให้ และ เริ่มทานอาหารเสริม ซึ่งเด็กจะมีเวลาปรับตัวต่อนมสูตรใหม่ หรืออาหารชนิดใหม่ที่เริ่มทานเข้าไป การปรับตัวของลำไส้ มีได้หลายแบบ ตั้งแต่ ท้องผูก จน ถ่ายเหลว อย่างไรก็ตามลำไส้จะปรับตัวซักระยะ แล้วกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

ถ้ายังพบการถ่ายแข็ง ให้ทานน้ำมากขึ้น ทานอาหารที่มีกากใยมากขึ้น น้ำลูกพรุน ลูกแพร์ ลูกพลัม โดยค่อยๆให้ อาจเจือจางแล้วเพิ่มความเข้มข้นขึ้น แล้วปรับปริมาณตามความเหมาะสมในช่วงอายุ และแต่ละบุคคลค่ะ

🙍🏻‍♂️ในเด็กโต เพิ่มอาหารที่มีกากใย ผักผลไม้มากขึ้น ฝึกหัดการขับถ่ายเป็นประจำ ถ้าจำเป็นต้องใช้ยาระบาย ควรปรึกษาแพทย์

⭐️นอกจากนี้ในเด็กทารกที่มีอาการท้องผูก อาจมีสาเหตุมาจากการแพ้โปรตีนในนม เช่นแพ้นมวัว 🐄หรือถ้ากินนมแม่อย่างเดียวก็ต้องระวัง อาหารที่แม่กินเข้าไปด้วย ซึ่งเด็กกลุ่มนี้ก็จะมีอาการแสดงอย่างอื่นร่วมด้วย ควรปรึกษาแพทย์

⭐️สาเหตุอื่นๆทางร่างกาย เช่น Hirschsprung’s Disease ,Hypothyroid ก็ทำให้ทารกท้องผูกได้ ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัย

⭐️ในเด็กที่ท้องผูกมากๆ (ที่ไม่เป็นโรคดังกล่าวข้างต้น)ไม่ว่าจะแก้ไขโดยวิธีใดๆก็ยังมีอาการ ปัจจุบันเชื่อว่ากรรมพันธุ์มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยนะคะ

⭐️นอกจากนี้การที่เด็กมีการเคลื่อนไหวขา เหมือนถีบจักรยาน ,การนวดเบาๆที่ท้องทารก จะช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้,การอาบน้ำอุ่นจะช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย และช่วยให้ขับถ่ายดีขึ้น

ในทารกที่คุณพ่อคุณแม่นำมาปรึกษานั้น ป้าหมอลองใช้ แท่งกลีเซอรีน กระตุ้นอีกไม่ถึง 1 ชั่วโมงต่อมาก็ถ่ายอุจจาระออกมา ลักษณะอุจจาระอ่อนนุ่ม ปกติดี

🌈โดยสรุปแล้ว 🌈 🌸เราจะบอกว่าเด็กท้องผูกก็ต้องดูที่ลักษณะของอุจจาระเป็นหลัก 🌸ทานนมแม่ นมแม่ให้ประโยชน์สูงสุดและไม่ทำให้ท้องผูกด้วย 🌸สาเหตุของท้องผูกในเด็กส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นโรคที่ร้ายแรงอะไร ทานอาหารที่มีกากใยมากขึ้น ทานน้ำมากขึ้น ถ้าไม่ดีขึ้น หรือมีอาการอื่นร่วมควรปรึกษาแพทย์



ดู 31,348 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page