google-site-verification: google49d119a0868d58ef.html
top of page

📷Child Bully การกลั่นแกล้งรังแกกันของเด็ก📷

อัปเดตเมื่อ 25 เม.ย. 2563

📷จากข่าวการยิงกันจนเสียชีวิต ของเด็กนักเรียนชั้น ม.1 โรงเรียนย่านนนทบุรี ทำให้สังคมต้องเฝ้าระวัง และร่วมมือกันแก้ไขปัญหา การกลั่นแกล้งกันใน โรงเรียน และปัญหาเด็กติดเกมส์ ซึ่งนับวันมีแต่จะมากขึ้น📷

📷Child Bully การกลั่นแกล้งรังแกกันของเด็ก📷

กรมสุขภาพจิต เผยปัญหาเด็กรังแกกันของประเทศไทย ติดอันดับ 2 ของโลก รองจากประเทศญี่ปุ่น

📷Bullying หมายถึง พฤติกรรม กลั่นแกล้งรังแกจากผู้อื่น ถือเป็นพฤติกรรมที่ร้ายแรง อาจก่อให้เกิดปัญหาตามมาในระยะยาว ไม่ใช่แค่ (เด็กแกล้งกันเล่น)เหมือนที่ผู้ใหญ่ชอบพูด📷

📷กลุ่มเด็กที่ชอบแกล้งผู้อื่น -มักเป็นเด็กที่มีแนวโน้มใช้ความรุนแรง -มีการใช้ความรุนแรงในคอบครัว ติดและซึมซับควานรุนแรง เลียนแบบพฤติกรรม มาจากเกมส์และสื่ออื่นๆ -กลุ่มเด็กที่ป่วยเป็นโรคทางจิตเวช เช่น โรคสมาธิสั้น ที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง

📷กลุ่มเด็กที่เป็นผู้ถูกรังแก -มักเป็นเด็กที่ย้ายโรงเรียนเข้ามาใหม่ -รูปร่าง หน้าตา ไม่ดี -ปัญหาพัฒนาการช้า เด็กพิเศษ เด็กพิการ -เด็กที่เป็นกลุ่มเพศทางเลือก -เด็กที่ผลการเรียนไม่ดี -ฐานะทางครอบครัว แตกต่างจากเพื่อนมากเป็นต้น

📷การรังแกกันมีได้ตั้งแต่📷 1.Physical ทำร้ายร่างกาย เตะ ต่อย ตี ขู่กรรโชก ขโมยสิ่งของ 2.Verbral ใช้คำพูดหยาบคาย ตะโกน ด่า ล้อเลียน เยาะเย้ย ถากถาง 3.Social ปล่อยข่าวลือ รวมกลุ่มซุบซิบนินทา 3.Cyber ปล่อยรูป ข่าว คลิปวีดิโอ ในโลก social 📷ทั้งหมดเป็นพฤติกรรมที่ร้ายแรง ก่อให้เกิดผลเสียตั้งแต่ตัวบุคคล เป็นบาดแผลในชีวิต จนนำไปสู่การฆ่าตัวตาย การยิงกันในโรงเรียน📷

📷ทำไมเด็กถึงรังแกผู้อื่น📷 -อยากเห็นเหยื่อที่อ่อนแอกว่า ,อยากทำให้ตัวเองเป็นคนสำคัญ ควบคุมผู้อื่นได้ -จากพื้นฐานตัวบุคคล และ พื้นฐานทางครอบครัว

📷รู้ได้อย่างไรว่าลูกถูกรังแก📷 -สำรวจเสื้อผ้า สิ่งของของลูก พบว่าเสียหาย -ไม่มีเพื่อนทันทีทันใด ผิดกับที่เคยเป็นมา -ไม่ยอมไปโรงเรียน ไม่ยอมเข้าไปอยู่ในสถานการณ์บางอย่าง -ผลการเรียนแย่ลง -เด็กมีอาการปวดท้อง ปวดศีรษะ -มีการกิน การนอน ที่ผิดปกติไป -อารมณ์เสียง่าย ฝันร้าย พฤติกรรมถดถอย ซึมเศร้า -รู้สึกกระวนกระวายหลังใช้ โทรศัพท์ หรือ หลีกเลี่ยงการใช้ electronic device -ขาดความมั่นใจในตนเอง -หนีออกจากบ้าน

📷แนวทางการแก้ปัญหา

📷เด็กที่ ถูกกลั่นแกล้งมัก ลังเลไม่กล้าเปิดเผยกับผู้อื่น ผู้ปกครอง และคุณครู ควรให้ความรู้ คำแนะนำ เมื่อมีโอกาสควรแอบสอบถาม สถานการณ์ในโรงเรียน เช่นลองถามว่าถ้าเกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้ หนูคิดอย่างไร,หนูเคยเจอเหตุการณ์แบบนี้บ้างไหม,หนูจะแก้ไขปัญหาอย่างไร,ถ้าหนูรู้ว่าเพื่อนคนอื่นถูกรังแกหนูจะทำอย่างไร หรืออาจเล่าประสบการณ์ของ ตัวคุณพ่อคุณแม่เอง ที่เคยเจอ เมื่อตอนเป็นเด็ก และวิธีการแก้ไขปัญหาให้ลูกฟัง

📷คำแนะนำสำหรับเด็กที่ถูกแกล้ง

-ไม่เข้าใกล้หรือเผชิญหน้าเพียงลำพังกับคนที่ชอบแกล้ง -อยู่กับกลุ่มเพื่อน ที่ให้ความช่วยเหลือ -ควบคุมอารมณ์ การร้องไห้ ,หน้าแดง ,โกรธ ,การยิ้ม ,หัวเราะ หรือมีปฎิกิริยาตอบสนองยิ่งเป็นตัวกระตุ้นให้ ผู้แกล้งสะใจ และยิ่งกระทำต่อ -ควรทำหน้าเฉยๆ ไม่ตอบสนอง หายใจเข้าออกลึกๆ ควบคุมความโกรธ และเดินเลี่ยงออกมา -บอกผู้ใหญ่ หรือคุณครู

📷ห้ามจัดการปัญหาด้วยความรุนแรงหรือแกล้งกลับ ไม่แนะนำให้ผู้ปกครอง ของ สองครอบครัวเผชิญหน้าแก้ปัญหากันโดยตรง 📷ในปัจจุบันโรงเรียนมักมีหน่วยงานในการจัดการกับปัญหา นี้ แล้ว

📷ด้วยความปรารถนาดี จากคลินิกหมอศิริวรรณ📷





ดู 482 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Kommentare


bottom of page