google-site-verification: google49d119a0868d58ef.html
top of page

โรคหืดในเด็กโต

😩โรคหืดในเด็กโต😩


👩‍⚕️ในเด็กที่อายุมากกว่า 5 ปีที่มีอาการที่เคยกล่าวไว้ใน( โรคหืดในเด็กเล็ก ) แล้ว

และฟังเสียงวี๊ด โดยไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อทางเดินหายใจ


🔴กรณี1.มีลักษณะเข้าข่ายโรคหืด (Suggestive Asthma) ต้องมี 2 ข้อขึ้นไป

-มีสิ่งกระตุ้น เช่น สารก่อให้เกิดภูมิแพ้ การออกกำลังกาย

-มีอาการมากเวลากลางคืน หรือ หลังตื่นนอน

-มีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัว

-ผู้ป่วยมักมีอาการภูมิแพ้ในระบบอื่นร่วมด้วย เช่น ภูมิแพ้อักเสบทางผิวหนัง ภูมิแพ้ทางจมูก


🔴กรณี 2.เคยมีอาการหอบ หายใจวี๊ด แม้เพียง 1 ครั้ง หรือเคยได้รับการรักษาด้วย controller (ยาพ่น หรือ ยากิน anti-leukrotiene) มาก่อนแล้ว


👱🏻‍♂️ในเด็กโต เราจะใช่ LAB มาช่วยประเมินด้วย


-นอกจาก การตอบสนองต่อยาพ่น ชัดเจนที่ประเมินโดยกุมารแพทย์

- PEF ( Peak Expiratory Flow ) เป็นการให้ผู้ป่วยวัดอัตราไหลของอากาศสูงสุดขณะหายใจออก ต้องใช้เครื่องมือ Peak Flow Meter

pre –post bronchodilator PEF > 20 % หรือ PEF variability > 13 %

-Spirometry เป็นการวัดการทำงานของปอด Lung Function Testโดยเครื่องมือแพทย์

pre-post bronchodilator FEV1 เพิ่มขึ้น > 12 %

ค่าพวกนี้แพทย์ระบบทางเดินหายใจจะทำการวัดเพื่อใช้ วินิจฉัยและติดตามการรักษา

และจำแนกแบ่งความรุนแรงของโรคเป็นกลุ่มๆ

โดยใช้อาการหอบช่วงกลางวัน ,อาการหอบช่วงกลางคืน และผล Lab(สนใจรายละเอียด อ่านได้ในแนวทางการรักษาโรคหืดในเด็ก)


📈นอกจากนี้เด็กที่เป็นโรคหืด ควรประเมินระดับการควบคุมโรค โดยใช้ประวัติในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมาว่าเป็นไปในลักษณะไหน จะมีตารางประเมิน

Complete controlled ,well controlled

,partly controlled ,uncontrolledคะ


❤️การรักษาโรคหืดในเด็ก❤️


🎯เป้าหมายคือสามารถควบคุมอาการไม่ให้กำเริบ สามารถใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงหรือใกล้เคียงเด็กปกติ

มีสมรรถภาพการทำงานของปอดใกล้เคียงหรือเทียบเท่าเด็กปกติในระยาว


แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้ดังนี้

✅1.ยาขยายหลอดลมบรรเทาอาการ

▫️ชนิดพ่น

1.1 Short acting beta 2 agonist( SABA)

MDI Metered-Dose Inhaler ยาพ่นคอเด็กควรใช้ร่วมกับกระบอกพ่นยา spacer ด้วย

-Salbutalmol evohaler (Ventolin) ออกฤทธิ์เร็วภายในเวลา 5- 15 นาที มีฤทธิ์นาน 4-6 ช.ม.

ในกรณีฉุกเฉินให้ได้ 2-6 puffs ทุก 20 นาทีให้ได้ถึง 3 ครั้ง ใน 1 ช.ม.

ถ้าใช้แบบพ่นด้วยเครื่อง nebulizer

- Salbutalmol nebule 2.5 – 5 mg/ครั้ง

ทุก 20 นาทีให้ได้ 3 ครั้งใน 1 ช.ม.

-Salbutalmol solution 0.03 ml/kg/ครั้ง

ทุก 20 นาทีให้ได้ 3 ครั้งใน 1ช.ม.

▫️ชนิดกิน

ออกฤทธิ์ช้ากว่าแบบพ่น

ออกฤทธิ์นาน 4-6ช.ม.เช่น salbutamol (ventolin)syrup ,tab

ออกฤทธิ์นาน 12 ช.ม.เช่น Procaterol (meptin) syrup ,tab


✅2.ยาขยายหลอดลมออกฤทธิ์ควบคุมอาการ มีฤทธิ์ลดการอักเสบ และลดความไวของหลอดลม

2.1 Inhaled Corticosteroids( ICS )

ชนิดพ่น ปลอดภัยสูง ยาตรงเข้าไปที่หลอดลมโดยตรง

มีหลายชนิด เช่น Budesonide (Pulmicort) Fluticasone (flixotide)

2.2 Inhaled Corticoisteroids + Long-acting beta-adrenoceptor agonist (LABA)

ช่วงหลัง มียากลุ่มนี้ออกมาเช่น Seretide ,Symbicort

ทำให้สามารถควบคุมอาการผู้ป่วยโรคหอบหืดได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น


✅นอกจากนี้ยังมียากลุ่มอื่นเช่น

-ยากลุ่มSteroids ชนิดฉีดและกิน

-ยาพ่นกลุ่ม Antichlorinergic เช่น Ipratoprium

-ยา Antileukotrienes เช่น singulair

👨🏻‍⚕️แพทย์จะเลือกใช้ตามข้อบ่งชี้ และตาม Clinical Practice Guideline (CPG)

ระหว่างการรักษาอาจมีการปรับยา ขึ้น หรือ ลง

(step up -down) เพื่อควบคุมอาการ


❌แนวทางป้องกันโรคหืด❌


1.หลีกเลี่ยงการสัมผัสควันบุหรี่ทั้งในระยะตั้งครรภ์และหลังคลอด

2.สนับสนุนให้คลอดธรรมชาติ (normal labor)

3.เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อย่างน้อย 6 เดือน

4.หลีกเลี่ยงการใช้ยาปฎิชีวนะแบบครอบคลุมเชื้อกว้าง ( broad spectrum antibiotic)

ในช่วง 1 ปีแรกของชีวิต

5.หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นและสารก่อภูมิแพ้

6.หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ติดเชี้อระบบทางเดินหายใจและควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ทุกปี

Cr:แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืดสำหรับเด็ก ,Mayo clinic


ดู 4,993 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page