google-site-verification: google49d119a0868d58ef.html
top of page
รูปภาพนักเขียนsiriwanpokrung

โรคสมาธิสั้น ADHD


🤓รู้จักโรคสมาธิสั้น โรคสมาธิสั้น เป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็ก (ก่อนอายุ 7 ขวบ) การวิจัยในปัจจุบันพบว่า เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น มีความบกพร่องหรือมีปริมาณสารเคมีที่สำคัญบางตัว (dopamine, noradrenaline) ในสมองน้อยกว่าเด็กปกติ 💕โดยมี กรรมพันธุ์เป็นปัจจัยที่สำคัญ ประมาณ 30 - 40 % ของเด็กสมาธิสั้นจะมีสมาชิกในครอบครัวคนใดคนหนึ่งเป็นโรคสมาธิสั้นด้วย หรือมีปัญหาอย่างเดียวกัน ปัจจัยจากการเลี้ยงดูหรือสิ่งแวดล้อมเป็นเพียงปัจจัยเสริมที่ทำให้อาการหรือความผิดปกติดีขึ้นหรือแย่ลงแต่ไม่ใช่สาเหตุหลัก มารดาที่ขาดสารอาหาร ดื่มสุรา สูบบุหรี่ หรือถูกสารพิษบางชนิด (เช่น ตะกั่ว) ในระหว่างตั้งครรภ์ จะมีโอกาสสูงที่ลูกเป็นโรคสมาธิสั้น 💢การวิจัยในปัจจุบันไม่พบว่าการบริโภคน้ำตาลหรือช็อกโกแลตมากเกินไปทำให้เด็กซนมากขึ้น การดูโทรทัศน์หรือเล่นวิดีโอเกมส์มากเกินไปก็ไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้เด็กเป็นโรคสมาธิสั้นเช่นกัน 📌 แนวโน้มเด็กเป็นโรคสมาธิสั้นมากขึ้น จริงๆ โรคสมาธิสั้น ถูกค้นพบมานานกว่า 100 ปีแล้ว แต่ยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายในกลุ่มครูและผู้ปกครอง เนื่องจากเกณฑ์ที่ใช้ในการวินิจฉัยไม่แน่นอน ในปัจจุบันครูและผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับโรคนี้ดีขึ้น ประกอบกับแพทย์เริ่มมีการกำหนดเกณฑ์ที่ใช้ในการวินิจฉัยแน่นอนและชัดเจนมากขึ้น ทำให้เด็กที่มีอาการเข้าข่ายโรคสมาธิสั้นถูกค้นพบและได้รับการวินิจฉัยมากขึ้น เลยทำให้ดูเหมือนเป็นการแพร่ระบาดหรือเป็นแฟชั่นของสังคม สภาพสิ่งแวดล้อม สังคม ครอบครัว การเลี้ยงดู และความคาดหวังจากพ่อแม่ยุคใหม่ ที่เปลี่ยนแปลงไปจากสภาพในอดีตก็มีอิทธิพลต่อจำนวนเด็กที่ป่วยเป็นโรคสมาธิสั้น 🎯โรคสมาธิสั้นนี้พบได้บ่อยในทุกประเทศทั่วโลก ในประเทศไทยพบประมาณ 5% ของเด็กในวัยเรียนป่วยเป็นโรคสมาธิสั้น หมายความว่า ห้องเรียนห้องหนึ่ง ถ้ามีนักเรียนอยู่ประมาณ 50 คน จะมีเด็กที่ป่วยเป็นโรคสมาธิสั้นอยู่ในห้องเรียนประมาณ 2-3 คน 🎗อาการบ่งบอกโรคสมาธิสั้น🎗 ✅1. อาการขาดสมาธิ (attention deficit) เด็กจะมีลักษณะวอกแวกง่าย ขาดความตั้งใจในการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานที่ต้องใช้ความคิด เด็กมักจะแสดงอาการเหม่อลอยบ่อยๆ ฝันกลางวัน ทำงานไม่เสร็จ ผลงานมักจะไม่เรียบร้อย ตกๆ หล่นๆ ดูเหมือนสะเพร่า ขาดความรอบคอบ เด็กมักมีลักษณะขี้ลืม ทำของใช้ส่วนตัวหายเป็นประจำ มีลักษณะเหมือนไม่ฟังเวลาพูดด้วย เวลาสั่งให้เด็กทำงานอะไร เด็กมักจะลืมทำ หรือทำครึ่งๆ กลางๆ อาการขาดสมาธินี้มักจะมีต่อเนื่อง ติดตัวจนกระทั่งเป็นผู้ใหญ่ ✅2. อาการซน (hyperactivity) เด็กจะมีลักษณะซน อยู่ไม่สุข ยุกยิกตลอดเวลา นั่งนิ่งๆ ไม่ค่อยได้ ต้องลุกเดิน หรือขยับตัวไปมา ชอบปีนป่าย เล่นเสียงดัง เล่นผาดโผน หรือทำกิจกรรมที่เสี่ยงอันตราย มักประสบอุบัติเหตุบ่อยๆ จากความซน และความไม่ระมัดระวัง พูดมาก พูดไม่หยุด ชอบแกล้งหรือแหย่เด็กอื่น ✅3. อาการหุนหันพลันแล่น (impulsivity) เด็กจะมีลักษณะวู่วาม ใจร้อน อารมณ์หุนหันพลันแล่น ทำอะไรไปโดยไม่คิดก่อนล่วงหน้าว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นตามมา ขาดความระมัดระวัง เช่น วิ่งข้ามถนนโดยไม่มองรถดีๆ ซุ่มซ่าม ทำข้าวของแตกหักเสียหาย เวลาต้องการอะไรก็จะต้องให้ได้ทันที รอคอยอะไรไม่ได้ เวลาอยู่ในห้องเรียนมักจะพูดโพล่งออกมาโดยไม่ขออนุญาตครูก่อน มักตอบคำถามโดยที่ฟังคำถามยังไม่ทันจบ ชอบพูดแทรกเวลาที่คนอื่นกำลังคุยกันอยู่ หรือกระโดดเข้าร่วมวงเล่นกับเด็กคนอื่นโดยไม่ขอก่อน เด็กบางคนอาจมีอาการซน และหุนหันพลันแล่น วู่วาม เป็นอาการเด่น มักพบได้บ่อยในเด็กผู้ชายมากกว่า แต่เด็กบางคนอาจไม่ซน แต่มีอาการขาดสมาธิเป็นปัญหาหลัก มักพบได้ทั้งในเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชาย 💥การวินิจฉัย💥 แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคสมาธิสั้นได้โดยอาศัยประวัติที่ละเอียด การตรวจร่างกาย การตรวจระบบประสาท และการสังเกตพฤติกรรมของเด็กเป็นหลัก ปัจจุบันยังไม่มีการตรวจเลือด หรือเอกซเรย์สมอง ที่สามารถนำมาใช้ในการวินิจฉัยโรคสมาธิสั้น ในบางกรณี แพทย์จำเป็นต้องอาศัยการตรวจอื่น ๆ เช่น การตรวจสายตา (vision test) การตรวจการได้ยิน (hearing test) การตรวจคลื่นสมอง (EEG) การตรวจเชาวน์ปัญญา (IQ test) และความสามารถทางการเรียน เพื่อช่วยวินิจฉัยแยกโรคลมชัก ความบกพร่องทางสายตา การได้ยิน หรือภาวะการเรียนบกพร่อง (learning disorder) ออกจากโรคสมาธิสั้น นอกจากนี้ โรคออทิสติก โรคจิตเภท ภาวะพัฒนาการล่าช้า และโรคทางจิตเวชอื่นๆ ในเด็ก เช่น โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า สามารถทำให้เด็กแสดงอาการหรือมีพฤติกรรมคล้ายกับเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น 🛑เกณฑ์ในการวินิจฉัยโรคสมาธิสั้น ที่แพทย์ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันคือ เกณฑ์ที่กำหนดขึ้นและประกาศใช้โดยสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน (DSM-IV) โดยแบ่งกลุ่มอาการออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ก. อาการขาดสมาธิ (attention deficit) ได้แก่ 1. ไม่สามารถทำงานที่ครูหรือพ่อแม่สั่งจนสำเร็จ 2. ไม่มีสมาธิในขณะทำงานหรือเล่น 3. ดูเหมือนไม่ค่อยฟังเวลาพูดด้วย 4. ไม่สามารถตั้งใจฟัง และเก็บรายละเอียดได้ ทำให้ทำงานผิดพลาดบ่อยๆ 5. ไม่ค่อยเป็นระเบียบ 6. มีปัญหาหรือพยายามหลีกเลี่ยงงานที่ต้องใช้ความคิดหรือสมาธิ 7. วอกแวกง่าย 8. ทำของใช้ส่วนตัว หรือของใช้ที่จำเป็นสำหรับงานหรือการเรียน หายอยู่บ่อยๆ 9. ขี้ลืมบ่อยๆ ข. อาการซน อยู่ไม่นิ่ง (hyperactivity) และอาการหุนหันพลันแล่น วู่วาม (impulsivity) ได้แก่ 1. ยุกยิก อยู่ไม่สุข 2. นั่งไม่ติดที่ ลุกเดินบ่อยๆ ขณะอยู่ที่บ้านหรือในห้องเรียน 3. ชอบวิ่ง หรือปีนป่ายสิ่งต่างๆ 4. พูดมาก พูดไม่หยุด 5. เล่นเสียงดัง 6. ตื่นตัวตลอดเวลา หรือดูตื่นเต้นง่าย 7. ชอบโพล่งคำตอบเวลาครูหรือพ่อแม่ถามโดยที่ยังฟังคำถามไม่จบ 8. รอคอยไม่เป็น 9. ชอบขัดจังหวะหรือสอดแทรกเวลาผู้อื่นกำลังพูดอยู่ หากเด็กคนใดมีลักษณะอาการใน ข้อ ก หรือ ข้อ ข รวมกันมากกว่า 6 อาการขึ้นไป เด็กคนนั้นมีความเป็นไปได้สูงที่จะเป็นโรคสมาธิสั้น 💊รักษาเด็กเมื่อเป็นโรคสมาธิสั้น💊 การรักษาเด็กสมาธิสั้นที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด คือ การผสมผสานการรักษาหลายๆ ด้านประกอบกัน 1. การรักษาด้วยยา ซึ่งจะออกฤทธิ์โดย “กระตุ้น” เซลล์สมองให้หลั่งสารเคมีธรรมชาติที่มีน้อยกว่าให้ออกมามากขึ้นในระดับที่เด็กปกติควรจะมี สารเคมีตัวนี้จะช่วยให้เด็กสามารถควบคุมตัวเองได้ดีขึ้น มีสมาธิยาวนานขึ้น และเรียนหนังสือได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 2. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการช่วยเหลือทางด้านจิตใจ สำหรับเด็กและครอบครัว เด็กสมาธิสั้นควรมีโอกาสได้คุยกับแพทย์ เพื่อแพทย์จะได้ให้ความรู้ในข้อจำกัดที่ตัวเด็กมี และแนะแนวทางปฏิบัติตัวเพื่อให้เด็กได้ใช้ความสามารถด้านอื่นทดแทนในส่วนที่บกพร่อง ในบางรายครอบครัวบำบัดก็มีความจำเป็นสำหรับครอบครัวที่มีปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในครอบครัว ทั้งนี้เพื่อลดความวิตกกังวลและความเครียดของเด็ก 3. การช่วยเหลือทางด้านการเรียน ครูจะเป็นเป็นบุคคลสำคัญที่จะช่วยเหลือเด็กควบคู่ไปกับการรักษาด้วยยาเสมอ ผลที่ตามมาเมื่อเด็กได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี เด็กจะรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า (self-esteem) มากขึ้น และมีความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือคนรอบข้างดีขึ้น 💗ที่เล่ามาทั้งหมดนี้ หากปล่อยเด็กทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องตั้งแต่เล็กแล้ว เมื่อโตขึ้นเด็กเหล่านี้จะมีภาวะแทรกซ้อนที่มีผลกระทบในแง่ลบมากมายทั้งต่อตนเองและครอบครัว มาคุยกับหมอเถอะครับ เพราะการเริ่มต้นที่ดีตั้งแต่เล็กจะนำไปสู่ก้าวต่อไปที่มีคุณค่าของลูกคุณ💓 Cr ร.ศ.น.พ. ชาญวิทย์ พรนภดล ภาควิชา จิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

คลินิกหมอศิริวรรณ รังสิต 02 9965172

ID : 1162624162901018478 Link : https://line.me/R/home/public/post?id=zzw3699l&postId=1162624162901018478

ดู 44 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Kommentare


bottom of page