google-site-verification: google49d119a0868d58ef.html
top of page

โรคคอเอียง( Torticollis )

อัปเดตเมื่อ 27 พ.ค. 2563

โรคคอเอียง Torticollis คอเอียงเป็นลักษณะที่ศีรษะเอียงจากแนวกึ่งกลาง ไปด้านใดด้านหนึ่ง สาเหตุส่วนใหญ่เป็นจากกล้ามเนื้อด้าน ข้างคอหดสั้นลง สาเหตุอื่นพบได้น้อย เช่น ผิดปกติที่ ระบบ สมอง ตา กระดูกคอ และการอักเสบบริเวณคอ ‍⚕️โรคคอเอียงแต่กำเนิดสาเหตุจากกล้ามเนื้อ (Congenital muscular torticollis) เป็นโรคคอเอียงในเด็กที่พบบ่อยที่สุด จากกล้ามเนื้อ ด้านข้างคอ (Sternocleidomastoid) ที่เกาะยึดระหว่าง กระดูกด้านหลังหู กับส่วนหน้าของกระดูกไหปลาร้า หดสั้นลง ทำให้ศีรษะเอียงไปด้านที่กล้ามเนื้อหดสั้น แต่ ใบหน้าจะบิดหันไปด้านตรงข้าม อาจเริ่มสังเกตเห็นได้ ขณะอายุน้อย ประมาณ 2 เดือน สาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อนี้หดสั้นลง เชื่อว่า อาจมาจากเนื้อเยื่อบริเวณคอถูกกดขณะคลอด หรือทารกอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสมในครรภ์ ทำให้ใยกล้ามเนื้อ ข้างคอเสียหาย กลายเป็นพังผืด กล้ามเนื้อหดสั้นลง โรคที่ อาจพบร่วมกับคอเอียงได้แก่ ข้อสะโพกผิดปกติ (Developmental dysplasia of hip) เท้าผิด ปกติ พบร่วมกัน 15-20 % อาการคอเอียงอาจพบได้ในเด็กตั้งแต่อายุ 1 เดือน หลังคลอด โดยเกือบครึ่งของผู้ป่วยมีก้อนคลำได้ที่ กล้ามเนื้อข้างคอด้านที่เอียง(pseudotumor) และก้อนจะค่อยๆ ยุบไป อาการคอเอียงนี้ถ้าเป็นไม่มากอาจสังเกตเห็นยาก การรักษาCongenital muscular torticollis .กายภาพบำบัด (Congenital Muscular Torticollis) 1.การยืดด้วยวิธีดัด (passive stretch) ควรหยุดทำ ถ้าเด็กดิ้นหรือฝืน 1.1การทำโดยจัดศีรษะผู้ป่วยอยู่ในท่า เงยหน้าเล็กน้อย เช่นนอนหงายบนตัก จัดให้หูข้าง ตรงข้ามกับกล้ามเนื้อหดสั้นมาสัมผัสที่ไหล่ข้างเดียวกัน 1.2อีกวิธีโดยหันหน้าจัดให้คางสัมผัสกับไหล่ข้างที่มี กล้ามเนื้อหดสั้น แต่ละท่ายืดค้างนานประมาณนับเลข 1-10 ต่อครั้ง ติดต่อกัน 15-20 ครั้งเป็น 1 รอบ ทำประมาณ 4-6 รอบในแต่ละวัน 2.การยืดแบบที่ให้เด็กหันศีรษะเอง (active stretch) วิธีนี้มีความปลอดภัยมากกว่า โดยต้องหาวิธีการที่จะล่อ ให้เด็กหันหน้ามาด้านที่มีคอเอียงที่มีกล้ามเนื้อหดสั้น วิธีการที่นิยมใช้ได้ผลดี เช่นการให้นม หรือล่อ ให้มองตาม .การผ่าตัดเพื่อแก้ปัญหากล้ามเนื้อหดสั้น ถ้ายืดกล้ามเนื้อหดสั้นไม่ได้ผลหลังอายุ 1 ปีควร รักษาด้วยการผ่าตัด เพื่อให้มีสมดุลของศีรษะและ ใบหน้าดีขึ้น การผ่าตัดมักได้ผลดีพอสมควร อายุที่ เหมาะสมที่สุดคือ 1-4 ปี ในผู้ป่วยที่มีอายุมากขึ้น การผ่าตัดอาจได้ผลไม่เต็มที่ การวินิจฉัยโรคคอเอียง ถ้าระบุสาเหตุไม่ได้ชัด จำเป็นต้องตรวจเพิ่มเติม เช่นภาพรังสีกระดูกคอ หรือ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางในเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่นจักษุแพทย์ นอกจากนี้ยังมี ลักษณะคอเอียงในเด็กที่เกิดจากการติดเชื้อ ,เกิดร่วมกับ โรคกรดไหลย้อน ,ยาบางชนิด อีกด้วยซึ่งต้องรักษาตามสาเหตุ การปล่อยให้มีคอเอียงอยู่นาน อาจทำให้กระโหลกศีรษะ หรือใบหน้าด้านที่กดกับพื้นที่ นอนแบนกว่าอีกด้าน ศีรษะบิดเบี้ยวไม่สมดุล เรียกว่า Plagiocephaly ซึ่งพบได้ในเด็กที่เป็น torticollis 27-61% ปัจจุบันมี การใช้ หมวกกันน็อก( Helmet ) ทำจากวัสดูพลาสติก น้ำหนักเบา มาดามศีรษะไว้โดยออกแบบเพื่อปรับการเจริญเติบโตของกระโหลกศีรษะ ให้ไปในทิศทางที่กำหนดไว้ เด็กเริ่มใช้ได้ตั้งแต่ 4-6 เดือน แต่ต้องใส่นานถึง 23 ช.ม. /วัน ใช้จนกระทั่งอายุ 18 เดือน ผลลัพธ์ที่รายงานค่อนข้างดี แต่ราคาแพงมาก และต้องปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง อย่างไร ก็ตามอาการคอเอียงอาจดีขึ้นได้เองในบางราย ข้อมูลเพิ่มเติมจาก 1.โรงพยาบาลเด็ก 2. Pediatric Orthopedics society 3.Pediatric rehabilitation center HSS 4.Boston children hospital คลินิกหมอศิริวรรณ 029965172




ดู 19,778 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comentarios


bottom of page