google-site-verification: google49d119a0868d58ef.html
top of page

หญิงตั้งครรภ์กับโควิดและการรักษา


🤰สตรีตั้งครรภ์กับโควิด19 และ การรักษา🤰 💥สตรีตั้งัครรภ์ที่ติดโรคโควิด-19 มีความเสี่ยงที่โรคจะรุนแรงกว่าคนทั่วไป 🛑มีโอกาสต้องรักษาในหอ ผู้ป่วยวิกฤติ(Intensive care unit, ICU) เพิ่มขึ้น 3 เท่า 🛑การใช้เครื่องช่วยหายใจ(mechanical ventilation) เพิ่มขึ้น 2.9 เท่า 🛑นอกจากนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อผลการตั้งครรภ์ที่่ไม่พึงประสงค์เช่น ครรภ์เป็นพิษ เลือดแข็งตัวผิดปกติ คลอดก่อนกำหนด 👶ทารกที่เกิดจากสตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ มีโอกาสเกิดก่อนกำหนดเพิ่มขึ้น 2.5 เท่า และน้ำหนักตัวน้อยเพิ่มขึ้น 9 เท่า เมื่อเทียบกับทารกที่คลอดจากสตรีตั้งครรภ์ที่ไม่ติดเชื้อ ⛔ปัจจัยเสี่ยงที่ให้โรคมีความรุนแรง⛔ • อายุมากกว่า 35 ปี • ดัชนีมวลกายสูง > 30 กิโลกรัมต่อตารางเมตร • โรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวานก่อนตั้งครรภ์ • ครรภ์เป็นพิษ 💊การรักษาโควิดกับสตรีตั้งครรภ์💊 • การใช้ favipiravir ในหญิงตั้งครรภ์มีโอกาสเกิด teratogenic effect (ความพิการของทารกในครรภ์) ดังนั้น ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็น หญิงวัยเจริญพันธุ์ ควรพิจารณาตรวจการตั้งครรภ์ก่อนเริ่มยานี้ • ให้พิจารณาเริ่มยาต้านไวรัสตามข้อบ่งชี้เช่นเดียวกับผู้ป่วยอื่น ในประเทศไทยให้ใช้เป็น remdesivir แทน ซึ่งจะให้ประโยชน์เฉพาะในผู้ที่มีปอดอักเสบและต้องใช้ออกซิเจนรักษาเท่านั้น จึงมี ข้อพิจารณาเพิ่มเติม ดังนี้ 🔺หญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ไตรมาสที่1 ที่อาการไม่รุนแรงไม่มีปอดอักเสบ ให้รักษาตามอาการ 🔺หญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ไตรมาสที่1 ที่มีปอดอักเสบ อาจพิจารณาใช้remdesivir เนื่องจากมี ข้อมูลความปลอดภัยของการใช้ remdesivir ในหญิงตั้งครรภ์จำนวนหนึ่งและไม่มีรายงาน ผลกระทบต่อทารกในครรภ์ 🔺หญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ไตรมาสที่2 และ3 ถ้าแพทย์พิจารณาแล้วว่าจะได้ประโยชน์จาก favipiravir มากกว่าความเสี่ยงอาจจะพิจารณาใช้ favipiravir โดยมีการตัดสินใจร่วมกับผู้ป่วย และญาติ 💦การติดเชื้อจากแม่สู่ลูกแบบ vertical transmission (การแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูก) พบน้อย ประมาณร้อยละ2-5 และ ส่วนใหญ่ของทารกไม่เกิดอาการรุนแรง แต่หญิงมีครรภ์ที่ติดเชื้อมีโอกาสที่จะเกิดอาการ รุนแรงได้ดังนั้นการรักษาจึงเน้นการรักษาแม่เป็นหลัก ❎ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนถึงผลของการรักษาอื่น ๆ เช่น การใช้ฟ้าทะลายโจร หรือ ivermectin หรือ combination regimen อื่น ๆ รวมทั้งconvalescent plasma การใช้การรักษาเหล่านี้ยังไม่ เป็นแนวทางมาตรฐาน การใช้ให้เป็นตามวิจารณญาณของแพทย์ ✔ฉะนั้นหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ขึ้นไป ควรได้รับวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด ด้วยนะคะ Cr.ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย

คลินิกหมอศิริวรรณ รังสิต 02 9965172

Comentários


bottom of page