google-site-verification: google49d119a0868d58ef.html
top of page
รูปภาพนักเขียนsiriwanpokrung

ร้องกลั้น (Breath holding spells)

😡ร้องกลั้น (Breath Holding Spells) 👼🏻เกิดได้ในเด็กอายุระหว่าง 6 เดือนถึง 2 ปี 👿เมื่อมีเหตุการณ์ที่ทำให้เด็กโกรธ ตกใจ หรือได้รับบาดเจ็บ ก็จะกระตุ้น ให้เกิดวงจรประสาทอัตโนมัติ Reflex ของร่างกาย ✅ทำให้เด็กร้องออกมา 1-2 ครั้ง หลังจากนั้นก็จะกลั้นหายใจ ปากและใบหน้าจะเขียวคล้ำลง หลังจากนั้น ก็จะหมดสติไป (อาจมีการกระตุกของกล้ามเนื้อได้เล็กน้อย)แล้วกลับมาหายใจปกติภายในเวลา 1 นาที ✅อาการจะเกิดในช่วงเด็กตื่น เท่านั้น จะไม่เกิดในช่วงหลับ ✅พบในเด็กประมาณ 5 % ,มีรายงานตามพันธุกรรมร่วมด้วย 👼🏻เด็กทั่วไปถ้าโกรธก็จะมีแค่ ปากใบหน้า เขียวคล้ำ ไม่ถึงกับหมดสติไป 📍ถ้าเด็กคนไหนเกิดอาการร้องกลั้นบ่อยๆ ก็ต้องคอยดู ว่า เด็กมีภาวะ ซีดร่วมด้วย หรือไม่ (เด็กมีปัญหาเรื่องเลือกทานอาหาร ,ขาดสารอาหารหรือไม่) 🗣วิธีปฎิบัติตัวเมื่อเด็กมีอาการร้องกลั้น 1️⃣.ให้ความเชื่อมั่นแก่ผู้ปกครองว่ามันดูน่ากลัว แต่จะไม่ทำอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต เด็กจะสามารถกลับมาหายใจปกติได้เอง และการร้องกลั้นไม่ได้นำไปสู่ภาวะชัก 2️⃣.จับเด็กนอนหงาย เพื่อเลือดจะได้ไปเลี้ยงสมองได้มากที่สุดในท่านี้ ท่ามีอาหารในปาก ให้ใช้มือกวาดออก ไม่ควรอุ้มเด็กตั้งตรง (เลือดจะไปเลี้ยงสมองน้อยในท่านี้) 3️⃣.ใช้น้ำเย็นประคบที่หน้าผากเด็ก จนกว่าเด็กจะกลับมาหายใจเป็นปกติ 4️⃣.ดูเวลาช่วงหยุดหายใจไม่ควรเกิน 1 นาที 5️⃣.ตั้งสติไม่ควรเขย่าตัวเด็กแรง (เช่นที่ผู้ปกครองมักทำกัน)เพราะ อาจทำให้เกิดอันตราย แก่เด็ก เช่นเลือดออกในสมองได้ 6️⃣.ไม่ควรเอาอะไรใส่เข้าปากเด็กเพราะจะเกิดการสำลักได้ 7️⃣.ไม่ควรเอาใจเด็กมากเกินไป แนะนำเมื่อเวลาเด็กเกิดการร้องเริ่มจะอาละวาด ถ้าสิ่งไหนให้ไม่ได้ ก็ไม่ควรให้ ถ้าเด็กเกิดการร้องกลั้น ให้นำเด็กมากอดหลังจากนั้น ไม่ควรตกใจจนเกินไป ผู้ปกครองตั้งสติและ ทำงานตามปกติต่อไป 8️⃣.ความถี่ของการเกิดการร้องกลั้น ขึ้นอยู่กับแต่ละคน อาจเกิดบ่อย 1-2 ครั้ง/วัน หรือนานๆครั้ง 1-2 ครั้ง/ เดือน และจะหายไปเองเมื่ออายุมากกว่า 6 ปี 9️⃣.ปรึกษาแพทย์ ถ้า เป็นบ่อยมาก หรือ ผู้ปกครองสังเกตสิ่งที่ผิดปกติไป 💢มีรายงานการวิจัยว่า การร้องกลั้น อาจเกิดจาก Maturation delayed in myelination of brainstem (การสร้างเส้นใยประสาทในส่วนก้านสมอง ล่าช้า ) เนื่องจากตรวจพบ Brain stem evoked potentials มี prolonged latenciesในเด็กกลุ่มนี้ 👨🏻‍⚕️แพทย์ผู้เชี่ยวชาญบางคน แนะนำ ให้ ทำ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG ร่วมด้วยถ้าเป็นบ่อยๆ Cr NCBI ,Ped Guideline LLC

คลินิกหมอศิริวรรณ 029965172


ดู 1,853 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

Comments


bottom of page