google-site-verification: google49d119a0868d58ef.html
top of page
รูปภาพนักเขียนsiriwanpokrung

รถหัดเดินในเด็ก


🧡รถหัดเดินเด็ก🧡


ที่อังกฤษสำนักบริการสาธารณสุขแห่งชาติ หรือเอ็นเอชเอส และหน่วยงานอย่างสมาคมนักกายภาพบำบัดกุมารเวชศาสตร์ (Association of Paediatric Chartered Physiotherapists) เคยออกมาชี้ว่าเก้าอี้หัดเดินของเด็กนั้นเป็นอุปกรณ์ที่นักกายภาพบำบัด และผู้ประกอบวิชาชีพด้านการบริการทางสุขภาพไม่แนะนำให้ใช้ โดยมีเหตุผลหลัก ๆ สองประการ


💥ประการแรก คือ แม้การใช้รถหัดเดินเด็กจะอยู่ภายใต้ความดูแลของผู้ใหญ่

แต่ก็ยังมีรายงานการเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งในแต่ละปี ไม่ว่าจะเป็นการพลัดตกจากบันได อาการบาดเจ็บที่เกิดกับศีรษะ ไฟลวก ไหม้ แขนหรือขาติด


💥ประการที่สอง คือ พัฒนาการช้า

มีการศึกษาหลายชิ้นชี้ว่ารถหัดเดินเด็กไม่ได้ช่วยให้เด็กมีพัฒนาการเร็วขึ้น แต่แท้จริงแล้วมักจะทำให้เด็กมีพัฒนาการช้าลง

นอกจากนี้รถหัดเดินเด็ก ไม่ได้ช่วยสอนการเดินให้เด็กอย่างที่มีความเชื่อกัน

แต่กลับทำให้เด็กเดินโดยใช้นิ้วเท้า และทำให้ติดการเดินในลักษณะนี้ไปจนโต


👸ความเชื่อและความจริงเกี่ยวกับรถหัดเดินเด็ก

เอกสารให้คำแนะนำเกี่ยวกับรถหัดเดินของเด็ก จัดทำโดยเอ็นเอชเอส เช็ทแลนด์ (NHS Shetland) ให้รายละเอียดความจริงและความเชื่อในเรื่องนี้ไว้ดังนี้


🟡ความเชื่อที่ 1 รถหัดเดินของเด็กปลอดภัยเพียงพอที่จะปล่อยให้เด็กอยู่ไม่กี่นาที


✅ความจริง การให้เด็กอยู่ในรถหัดเดินนั้น ไม่ต่างจากการให้วัยรุ่นได้ขับรถแข่งอย่างเฟอร์รารี - นับเป็นความเสี่ยงอันตราย

เด็กที่อยู่ในรถหัดเดินต้องได้รับความใส่ใจและเฝ้าระวังมากกว่าเด็กที่ไม่ได้อยู่ในรถหัดเดิน

สถิติในสหราชอาณาจักรชี้ว่า เด็กที่ใช้รถหัดเดินกว่า 40% ได้รับบาดเจ็บ (ประเมินว่ามีเด็กได้รับบาดเจ็บราว 4,000 คน ต่อปี)

ทั้งนี้ เป็นเพราะรถหัดเดินทำให้เด็กเคลื่อนไหวไปได้อย่างรวดเร็ว และยังช่วยให้เด็กสามารถเขย่งตัวสูงไปหยิบจับสิ่งที่เป็นอันตรายอย่างมีดหรือเครื่องดื่มร้อนได้


🟠ความเชื่อที่ 2 รถหัดเดินช่วยสอนการเดินให้ลูก


✅ความจริง รายงานในวารสารการแพทย์อังกฤษชี้ว่าการใช้รถหัดเดินไม่ได้มีความเกี่ยวโยงใด ๆ กับการนั่งหรือการยืน ทั้งยังมีกรณีที่พบว่าเด็กที่ใช้รถหัดเดินถูกชะลอพัฒนาการออกไป

โดยหากรวมเวลาที่เด็กอยู่รถหัดเดินแต่ละครั้ง เมื่อรวมได้ 24 ชั่วโมงก็เท่ากับว่า เด็กจะหัดเดินช้าออกไปอีก 3 วัน และทำให้หัดยืนช้าออกไปอีกเกือบ 4 วัน

ทั้งนี้ เพราะรถหัดประคองให้เด็กอยู่ในท่าตั้ง แต่ไม่ได้สอนให้เด็กรู้จักการทรงตัวซึ่งเป็นทักษะจำเป็นสำหรับการเดิน


🟣ความเชื่อที่ 3 ให้ลูกอยู่ในรถหัดเดินจะได้มีพัฒนาการ


✅ความจริง มีหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่าเด็กที่ใช้รถหัดเดินนั้น นั่ง คลาน และเดินช้ากว่าเด็กที่ไม่ได้ใช้ และยังทำคะแนนต่ำกว่าทั้งในการประเมิน Bayley Assessment ซึ่งศึกษาพัฒนาการด้านจิตใจและภาษา และทักษะทางการเคลื่อนไหว

รถหัดเดินยับยั้งหรือในกรณีร้ายแรงจะกีดขวางเด็กไม่ให้เด็กคลานแต่ทำให้เด็กอยู่ในท่าตั้ง ซึ่งจะมีผลต่อพัฒนาการทางสมองของเด็ก ทั้งนี้ เพราะสมองทำงานในลักษณะสลับไปมา โดยสมองซีกซ้าย ควบคุมการทำงานของแขนและขาขวา และสมองซีกขวา ควบคุมการทำงานของแขนและขาซ้าย

การคลานเป็นการเคลื่อนไหวที่จำเป็นในการทำให้สมองทำงานในลักษณะดังกล่าวข้างต้น

แต่เด็กที่อยู่ในเก้าอี้หัดเดินจะหมดโอกาสได้เรียนรู้ทักษะการเคลื่อนไหวและหยั่งรู้ เช่น ระยะทาง ความลึก หรือความเข้าใจเรื่องข้างนอก/ข้างใน ด้านบน/ด้านล่าง เป็นต้น


🟤ความเชื่อที่ 4 เก้าอี้หัดเดินช่วยให้ลูกมีขาแข็งแรง


✅ความจริง เก้าอี้หัดเดินจะไปรบกวนท่วงท่าโดยธรรมชาติของเด็ก และยังทำให้สะโพกและหัวเข่าของเด็กรับน้ำหนักอย่างผิดท่า และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเดินของเด็ก บางครั้งอาจก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับสะโพกได้ในระยะยาว

รถหัดเดินสอนให้เด็กไถไปบนพื้นโดยใช้นิ้วเท่า ซึ่งไปสร้างความแข็งแกร่งให้กล้ามเนื้อขาที่ผิดมัด สิ่งนี้อาจมีผลอย่างมากต่อการทรงตัวและพัฒนาการของข้อต่อและกล้ามเนื้อโดยทั่วไป รวมทั้งสร้างปัญหากับเท้าและข้อเท้าในระยะยาวด้วย


Cr BBC

ดู 4 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page