google-site-verification: google49d119a0868d58ef.html
top of page
รูปภาพนักเขียนsiriwanpokrung

บทบาทสมมุติ Role Play


👰บทบาทสมมุติ (Role Play)👸


👧พอเริ่มเข้าวัยเตรียมอนุบาล เด็กเริ่มพ้นออกจากอกพ่อแม่ เช่นไปเล่นกับเด็กอื่นข้างบ้าน ไปโรงเรียน ไปสนามเด็กเล่น ฯลฯ ซึ่งทำให้อาจไปเจอกับสิ่งที่ไม่คาดคิด เช่น ถูกเพื่อนแกล้ง ถูกครูดุ ไม่มีคนเข้าใจ ฯลฯ

💔ซึ่งเด็กเองไม่เข้าใจ และไม่รู้ว่าจะจัดการกับมันอย่างไร และไม่มีคุณพ่อ คุณแม่อยู่แถวนั้นคอยช่วยเหลือ

💜ดังนั้น เด็กจึงมีกลไกในตัวเอง ที่จะช่วยแก้ไขปัญหา หรือความรู้สึกที่ไม่ปลอดภัยที่เกิดขึ้นกับตนเอง โดยการสร้างจินตนาการ และการเล่นสมมุติ เช่น สมมุติว่าตนเองใหญ่โต และมีอำนาจ เป็น ตำรวจ เป็นซุปเปอร์แมน ที่จะจัดการกับสิ่งที่ตนเองไม่ชอบได้

💚ทำให้ตนเองรู้สึกว่าปลอดภัยขึ้น ส่วนใหญ่พระเอกในใจของเด็ก ที่เด็กรู้สึกว่าเก่ง และมีอำนาจ อาจไม่ใช่ อุลตร้าแมน หรือซุปเปอร์แมน เสมอไป


👩‍🦰👨‍🦰ส่วนใหญ่พระเอก( หรือนางเอก) ในใจของเด็ก คือ คุณพ่อคุณแม่ของเด็กเอง💓

การเล่นสมมุติตามจินตนาการของเด็ก ทำให้เด็กได้รู้สึกว่า


✅1. ตนเองมีความเข้มแข็ง และมีความมั่นใจมากขึ้น (stronger and more confident) และจะช่วยลดความเครียด หรือความกลัวที่ตนเองมีอยู่


✅2. Happiness คือมีความสุขกว่า, active กว่า, มีความก้าวร้าวน้อยกว่า


✅3. Self-entertainment เช่น ขณะกำลังรอคอยคุณแม่แต่งตัว เขาได้เล่นสมมุติตามจินตนาการจนเพลิน ทำให้ไม่หงุดหงิดมาก


✅4. Roots of sensitivity การเล่นบทบาทที่สมมุติเป็นคนอื่น ๆ ทำให้มีความเข้าใจในบทบาทของแต่ละคน ทำให้เข้าใจ และเห็นใจคนอื่น ๆ มากขึ้น


✅5. Creativity ทำให้เด็กได้ลองคิดในมุมกว้างที่หลากหลาย เช่น เล่นเป็นคนดี คนไม่ดี คนจน ขอทาน ฯลฯ ทำให้เด็กเริ่มมีทัศนะคติ ต่อโลกรอบตัวเขาในแง่มุมที่กว้างขึ้น


💦นอกจากนี้ ยังมีความสัมพันธ์กับการพัฒนาการทางด้านทักษะอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้น พบว่าเด็กที่ได้มีโอกาสเล่น ตามจินตนาการของตนเองบ่อย ๆ จะมีทักษะในการคิด (Thinking skills) ดีกว่า, มีสมาธินานกว่า และมีไอเดียใหม่

💝เด็กที่ชอบเล่นตามจินตนาการ มักจะเป็นเด็กที่มีแววฉลาดกว่าเด็กทั่วไป โดยตัวของตัวเองอยู่แล้ว หรือ อาจจะเป็นว่าการเล่นตามจินตนาการของเด็กได้เปิดโอกาสให้เด็กได้คิดสำรวจและมองในมุมมองอื่นที่กว้างขึ้น มีความยืดหยุ่นขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับตัวเด็กเองเมื่อโตขึ้น


👧🧒เด็กหญิงกับเด็กชาย จะมีการเล่นสมมุติ แตกต่างกันไหม?

💥คำตอบ : การเล่นของเด็กหญิงกับเด็กชาย จะมีความแตกต่างกันบ้าง กล่าวคือ


👧ในเด็กหญิง แทบทุกคนจะเล่นเป็นแม่ ซึ่งจะช่วยให้เขา สามารถแยกแยะบทบาทของการเป็นเพศแม่ (sexual identity) ได้ชัดเจนขึ้น

◾ประมาณ 1 ใน 3 จะชอบเล่นเป็น เจ้าหญิง ,คุณครู ,นางฟ้า

◾แต่ก็จะมีประมาณ 1 ใน 4 ที่ชอบเล่นแบบผจญภัยโลดโผนบ้าง เช่น เป็นซุปเปอร์แมน ,สไปเดอร์แมน ,อุลตร้าแมน หรือ เป็นตำรวจ บ้าง


👦ในเด็กชาย มักจะเล่นเป็นฮีโร่ ที่มีความแข็งแกร่ง เช่น ซุปเปอร์แมน อุลตร้าแมน ฯลฯ

◾ประมาณ 40% จะเล่นเป็นพ่อ

◾แต่โดยทั่วไปแล้ว การเล่นนี้มักจะเกี่ยวกับภัยคุกคาม หรือสิ่งที่อาจจะเป็นอันตราย เช่น มีสัตว์ประหลาดมา กำลังจะมาจับเด็กๆไปกิน พวกเราต้องออกไปต่อสู้ ทำร้ายเจ้าสัตว์ประหลาด เตะมันให้กระเด็น ยอมแพ้ไปเลย และเขาก็สามารถปกป้องคนอื่นๆจากสัตว์ประหลาดได้

ซึ่งการที่เด็กชายได้เล่นเป็นฮีโร่ มีความเข้มแข็ง และแข็งแรง ทำให้เด็กเรียนรู้บทบาท ของการเป็นเพศชายได้ชัดเจนดีขึ้น

❣พบว่าทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย จะชอบเล่น บล็อคตัวต่อ หรือ เลโก้ ทำเป็นบ้าน ,สะพาน ,ขับรถ เล่นเหมือนๆกัน


💝และในบางครั้งจะพบว่า ไม่ว่าจะเป็นเด็กหญิงหรือชาย จะมีการเล่นสมมุติที่เปลี่ยนบทบาทไปจากเพศของตน (cross roles)

เช่นเด็กหญิงแต่งตัวทำท่าทางเป็นพ่อ หรือ เด็กชายแต่งตัวทำท่าทางเป็นแม่

✅ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เป็นปกติ โดยไม่ได้หมายความว่าเด็กในวัยนี้ จะมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนไปจากเพศของตน เพราะเป็นการสมมุติดู ตามจินตนาการของตนในบทบาทของคนอื่น (try out different adult role)


💜นอกจากการเล่นสมมุติ โดยใช้ตนเองเป็นหลักแล้ว ยังพบว่า เด็กในวัยนี้ มักจะมี “เพื่อนล่องหน” หรือ เพื่อนในจินตนาการ (Imaginary friends) ของเขาอยู่กับเขาด้วย

เพื่อเป็นเพื่อนที่อยู่ใกล้ชิด ทำให้เขารู้สึกว่าไม่ได้อยู่คนเดียว (companionship)

เพื่อให้เด็กได้ทำในสิ่งที่ตัวเองอยากทำ แต่ทำไม่ได้ หรือ เป็น “แพะ scapegoat” ไว้ให้เขาได้โทษความผิดให้ เช่น เด็กอาจจะเอาตุ๊กตาตัวโปรดของเขา มายื่นให้คุณแม่ แล้วบอกว่า “คุณแม่ครับ เจ้าแพ็ทนี่ละครับ ที่ทำแจกันของคุณแม่ตกแตก คุณแม่ตีเจ้าแพ็ทได้เลยครับ” ฯลฯ


✅หรือ บางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจจะแปลกใจ ที่ลูกสามารถอยู่เล่นคนเดียวในห้องได้ เพราะเขาเองมีเพื่อนเล่นด้วยกับเขา นั่นคือ เพื่อนในจินตนาการนั่นเอง

ซึ่งพอเด็กอายุมากขึ้นกว่านี้ และมีวุฒิภาวะมากขึ้น เพื่อนในจินตนาการของเขา ก็จะหายไปเอง


🥰คุณพ่อคุณแม่ก็ควรจะเข้าใจ และให้การต้อนรับเพื่อนในจินตนาการของเขาด้วย โดยไม่ต้องกังวล ว่าลูกจะมีอะไรผิดปกติไปหรือเปล่า

เห็นประโยชน์ของการเล่นสมมุติแล้วใช่ไหมคะ

ฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ ควรจะสนับสนุนให้ลูกได้มีโอกาสเล่นสมมุติ ตามจินตนาการ ของเขา


Cr พญ.จันท์ฑิตา พฤกษานานนท์




ดู 602 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Kommentare


bottom of page