google-site-verification: google49d119a0868d58ef.html
top of page

ตาเหล่

👀ตาเหล่ หรือ ตาเข (Strabismus, Squint)


❇️เป็นภาวะหรือโรคที่พบได้ในเด็กและผู้ใหญ่ได้ โดยอาจพบได้ทุกช่วงอายุ

โดยผู้ป่วยจะมีอาการที่ตาไม่อยู่ในแนวตรงตามธรรมชาติ

สืบเนื่องมาจากการมีภาวะผิดปกติที่ทำให้การเคลื่อนไหวของลูกตาทั้ง 2 ข้างขาดการประสานงานกันที่ดี

หากจะกล่าวถึงโรคตาเหล่หรือตาเข สิ่งที่ผู้ปกครองควรทำความรู้จักนั่น ก็คือ

🔴• ตาเหล่ปรากฏ คือ ภาวะที่ตาเหล่ปรากฏให้เห็น

🔵• ตาเหล่ซ่อนเร้น คือ ภาวะตาเหล่ที่ไม่เคยปรากฏให้ใครเห็น แต่สามารถตรวจพบได้โดยจักษุแพทย์ ซึ่งภาวะนี้ไม่อันตรายแต่ต้องได้รับการตรวจหาสาเหตุและติดตามการรักษา

⚫️• ภาวะตาเหล่เทียม คือ ตาไม่ได้มีภาวะตาเหล่จริงแต่ดูเสมือนดวงตามีภาวะตาเหล่ เมื่อทำการตรวจแล้วจะพบว่าเป็นคนตาตรง ซึ่งภาวะตาเหล่เทียมจะพบได้บ่อยในเด็กที่มีเนื้อผิวหนังบริเวณระหว่างดวงตาทั้ง 2 ข้างกว้างผิดปกติ ทำให้เสมือนหลอกตาว่าดวงตามาชิดบริเวณหัวตา

โดยในกลุ่มนี้ถ้าตรวจก็จะไม่พบความปกติ ✅อย่างไรก็ตามการวินิจฉัยโรคตาเหล่หรือตาเขในเด็กนั้นจะทำได้เมื่อเด็กมีการจับจ้องวัตถุดีพอคือ อายุ 3 เดือนเป็นต้นไป


✳️โรคตาเข-ตาเหล่ มีการแบ่งชนิดของโรคอย่างไร?

ตาเขชนิดเห็นได้ชัด ( Manifest strabismus ) เป็นตาเขที่มองเห็นได้ชัดเจน ซึ่งแบ่งได้หลายลักษณะ

1️⃣ตาเขเข้าด้านใน ( esotropia )

2️⃣ตาเขออกนอก ( exotropia )

3️⃣ตาเขขึ้นบน ( hypertropia )

4️⃣ตาเขลงล่าง ( hypotropia )


💠ลักษณะอาการของโรคตาเข-ตาเหล่

อาการโดยรวมของโรคตาเข-ตาเหล่ อาจจะสังเกตได้จากตำแหน่งดวงตาไม่ได้อยู่ตรงกลาง และผู้ป่วยอาจจะมีปัญหาการมองเห็นของภาพเป็นภาพซ้อน โดยที่ภาพ 1 ภาพปรากฏออกเป็น 2 ภาพ หรือบางคนอาจจะเห็นเป็นลักษณะของภาพซ้อนโดยที่ภาพ 2 ภาพมาทับซ้อนที่ตำแหน่งเดียวกัน

ซึ่งผู้ที่มีอาการดังกล่าว อาจลดการเกิดภาพซ้อนของตัวเองด้วยการเอียงหัวหรือเอียงใบหน้า เช่น อาจจะมีท่าทางการมองที่ผิดปกติ คือชอบเอียงศีรษะ ,เอียงหน้า หรือ แม้กระทั่งก้มหน้าเพื่อดูสิ่งต่าง ๆ

❤️ทั้งนี้ การตรวจวินิจฉัยโรคตาเขหรือตาเหล่ต้องได้รับการยืนยันจากจักษุแพทย์ที่มีความชำนาญ เรื่องกล้ามเนื้อตาในเด็ก❤️


🔎แนวทางการรักษา🔎


แนวทางการรักษาจะขึ้นอยู่กับชนิดของตาเหล่หรือตาเขและสาเหตุของการเกิดโรคเป็นหลัก


1.ถ้าโรคตาเหล่หรือตาเขเกิดจากสาเหตุที่สามารถรักษาให้หายได้ เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Myasthenia Gravis) ,ไทรอยด์


2.ถ้าความผิดปกติของโรคตาเหล่-ตาเข เกิดจากความผิดปกติของดวงตา เช่น เป็นต้อกระจกก็ต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไข


3.หากมีภาวะสายตาผิดปกติ เช่น มีภาวะสายตายาวและทำให้เกิดตาเขหรือตาเหล่เข้า ก็จำเป็นต้องได้รับการใส่แว่นสายตายาว เป็นต้น


นอกจากนี้ หากเป็นโรคกล้ามเนื้อตาก็จะมี

🤩‘การปิดตา’ เพื่อกระตุ้นการทำงานของดวงตา และช่วยลดอาการปรากฏของอาการตาเขหรือตาเหล่บางชนิด เช่น ตาเขหรือตาเหล่ที่เป็น ๆ หาย ๆ รวมถึงการปิดตาเพื่อรักษาภาวะอาการตาขี้เกียจร่วมด้วย

4.การผ่าตัดในกลุ่มที่ต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อขยับตำแหน่งของกล้ามเนื้อตา เป็นต้น

การที่ปล่อยให้เด็กมีภาวะตาเหล่จะทำให้มีปัญหาการมองเห็นเป็นภาพทับซ้อนกันหรือเป็นภาพซ้อน ในระยะยาวเด็กที่ไม่มีความสามารถในการสลับใช้ดวงตาได้ ก็จะทำให้ตาข้างที่เขเกิดการปรับตัวจากสมองโดยที่สมองจะทำการปิดภาพนั้นไปเพื่อไม่ให้เกิดการรบกวนของภาพ (Suppression) อาจทำให้เกิดภาวะตาขี้เกียจ คือ ตาข้างนั้นจะสูญเสียการมองเห็น

✳️นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญของภาวะตาขี้เกียจมักจะเกิดขึ้นกับเด็กที่มีอายุไม่เกิน 8 ปีแรก

ในช่วงที่การมองเห็นกำลังพัฒนา

การรักษาที่เกิดขึ้น หลังจากนั้นก็จะสามารถแก้ไขได้เฉพาะความสวยงามของดวงตาเท่านั้น ไม่สามารถแก้ไขเรื่องของการมองเห็นได้


❌ถ้าเจอภาวะตาเขเข้าในซึ่งพบในเด็กแรกเกิด ( infantile esotropia ) ต้องรีบส่งจักษุแพทย์เฉพาะทาง

❌เนื่องจากตาเขชนิดนี้เป็นผลให้เด็กสูญเสียการมองเห็นที่ดีได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง

🚫และในเด็กที่ตาเหล่เทียม Pseudostrabismus ต้องคอยติดตามอาการ ว่าอาจมีโรคตาเหล่จริงๆอยู่ได้


Cr พ.ญ. ภิยดา ยศเนืองนิตย์ ,AAPOS ,SIPH


ดู 1,877 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page